โทรได้ 24 ชม. 02-185-1444

การรักษาอาการปวดด้วยพลาสมาเกล็ดเลือดเข้มข้น (PRP)

PRP (Platelet Rich Plasma) คือหนึ่งทางเลือกของการรักษาด้วยการเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อโดยธรรมชาติ   โดยการนำเลือดของผู้ป่วยเพียงเล็กน้อยมาปั่นเพื่อแยกเกล็ดเลือดและพลาสมาออกมา จะได้เกล็ดเลือดที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นกว่าระดับปกติซึ่งภายในประกอบด้วย Growth factor ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกายบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ หลังจากนั้นแพทย์จะนำเกล็ดเลือดและพลาสมาที่ได้มาจากการปั่นจนมีความเข้มข้นสูง ฉีดกลับเข้าไปในบริเวณที่บาดเจ็บเพื่อช่วยรักษาอาการเจ็บปวดและเร่งการฟื้นฟูสภาพร่างกายทำให้ลดอาการปวด รักษาได้ตรงจุดไม่ต้องผ่าตัด หรือ ชะลอการผ่าตัด

PRP เหมาะกับใครบ้าง

  • อาการปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก
  • มีอาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ข้อเข่าอักเสบ
  • มีอาการบาดเจ็บและการอับเสบของเส้นเอ็น
  • ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
  • เคยรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด กินยาหรือฉีดสเตียรอยด์แล้วไม่ดีขึ้น 

ประโยชน์ของ PRP

  • ปลอดภัยเนื่องจากใช้เลือดของผู้ป่วยเอง  ไม่มีผลข้างเคียงต่อร่างกาย
  • ไม่ต้องผ่าตัด  ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัว

ข้อจำกัดของการฉีดเกล็ดเลือดไม่เหมาะกับบุคคลใดบ้าง

  1. ได้รับผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมไปแล้ว
  2. ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  3. อาจมีโอกาสมีการติดเชื้อของบริเวณที่จะมีการฉีดเกล็ดเลือด  หากทำหัตถการไม่ถูกวิธี
  4. ข้อจำกัดอื่น ๆ ตามการพิจารณาของแพทย์

ระยะเวลาในการรักษา

โดยส่วนใหญ่การรักษาด้วยการทำ PRP จะทำทั้งหมด 3 เข็ม ห่างกันเข็มละ 1  เดือน  ในแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง ผลของการรักษาอยู่ได้นานประมาณ 6 -12 เดือน และสามารถฉีดซ้ำได้ โดยผลข้างเคียงเล็กน้อยที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการฉีด ได้แก่ ปวดบริเวณที่ฉีด หรือมีรอยฟกช้ำขนาดเล็กที่มักจะหายได้เองภายใน 2-3 วัน

การเตรียมตัวก่อนการฉีด PRP  

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารให้ครบ   5   หมู่
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกออล์
  • ดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 1-2 ลิตร  ก่อนการรักษาด้วย PRP เพื่อให้เลือกไม่ข้น ไม่หนืด
  • แจ้งประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัวและยาที่รับประทานอยู่ หรือการใช้ยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด
  • งดการรับประทานวิตามินก่อนฉีด  
  • งดยาปฏิชีวนะที่ทานติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • งดรับประทานยากลุ่ม NSAID เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดข้อ  ก่อนและหลังทำหัตถการอย่างน้อย  7  วัน

การดูแลร่างกายหลังฉีด PRP

  • พยายามเลี่ยงการใช้งานบริเวณที่ทำการฉีด PRP
  • อาจมีอาการปวดตึงในช่วง 48 ชั่วโมง แนะนำให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวด 
  • กรณีปวดมากสามารถรับประทานยาพาราเซตามอล
  • ห้ามรับประทานยาในกลุ่ม NSAIDs  เด็ดขาด เพราะอาจทำให้ประสิทธิภาพการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นลดลง นอกจากนี้หากปวด บวม แดง ร้อนบริเวณที่ฉีด แนะนำให้กลับมาพบแพทย์ทันที

ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มต่อไปนี้ไม่แนะนำให้รักษาด้วยการฉีด PRP

  • ผู้ที่มีประวัติป่วยเป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของเกล็ดเลือด
  • ผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด
  • ผู้ที่มีอาการไข้
  • ผู้ที่มีการติดเชื้อเฉพาะส่วนในบริเวณที่ทำการรักษา
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือด  มะเร็งกระดูก
  • ผู้ที่มีการฉีดยาสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ที่ช่วยลดอาการอักเสบที่บริเวณที่ทำการรักษาภายใน 1 เดือน
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (Autoimmune Disease)     
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์และอยู่ในระหว่างการให้นมบุตร

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมแพทย์เฉพาะทางศัลยกรรมกระดูกและข้อ

โทร. 02-185-1444 ต่อ 135 , 192

บทความสุขภาพ