โทรได้ 24 ชม. 02-185-1444

“โรคงูสวัด” เป็นแล้วต้องรักษา

โรคงูสวัด เกิดจากการติดเชื้อวาริเซลลา ซอสเตอร์ไวรัสหรือวีแซดวี (Varicella-Zoster virus) เป็นการติดเชื้อ “ซ้ำ” ในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน ซึ่งหลังจากหายจากโรคอีสุกอีใสแล้ว เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทของร่างกาย และแฝงตัวอย่างสงบโดยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ แต่เมื่อร่างกายอ่อนแอลง เชื้อไวรัสที่หลบซ่อนนี้จะทำให้เกิดโรคงูสวัด

ผู้ป่วยโรคงูสวัดเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี โดยพบว่าหนึ่งในสามของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีจะเป็นโรคงูสวัด และหนึ่งในหกของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีที่เป็นงูสวัดจะมีอาการปวดรุนแรง เนื่องจากเป็นวัยที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายเริ่มเสื่อมถอยลง ภูมิต้านทานลดลง มีโรคเรื้อรัง หรือโรคประจำตัวที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ

อาการ : โรคงูสวัด  ผู้ป่วยจะมีอาการมีไข้ ปวดศรีษะ อ่อนเพลีย  ปวดแสบร้อนตามผิวหนัง  ผื่นแดง   ตุ่มน้ำใส  ตุ่มหนอง เป็นกลุ่มบริเวณผิวหนังตามแนวของเส้นประสาท   โดยหลังจากตุ่มน้ำแตกออกจะกลายเป็นแผล    อาการปวดและแผลจะหายได้ใน 2-4 สัปดาห์   ผู้ป่วยบางรายก็อาจจะมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาท  เนื่องจากเส้นประสาทอักเสบจากการติดเชื้อ

ภาวะแทรกซ้อน : อาการปวดแสบร้อนตามผิวหนังนานหลายเดือน แม้ผื่นจะหายสนิท ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 10-30 โดยพบบ่อยขึ้นและปวดรุนแรงขึ้นในผู้สูงอายุ

  • Herpes zoster opthalmicus เป็นการติดเชื้อที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 แขนงที่เลี้ยงตา ซึ่งหากมีการอักเสบภายในตา ทำให้สูญเสียการมองเห็นได้
  • Ramsay hunt syndrome หรือ herpes zoster oticus ติดเชื้อที่ปมประสาท และเส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 อาการมาด้วยใบหน้าอ่อนแรงครึ่งซีก ร่วมกับปวดหู และตุ่มน้ำขึ้นที่หู
  • ภาวะแทรกซ้อนระบบประสาทอื่น ๆ เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นต้น

ผู้ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันงูสวัด

  1. ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และไม่เคยเป็นโรคงูสวัด หรือโรคอีสุกอีใสมาก่อน  ป้องกันได้  91.2 %
  2. ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50-59 ปีที่เคยมีประวัติเป็นโรคอีสุกอีใส หรือโรคงูสวัดมาก่อน  ป้องกันได้  88%
  3. ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง  เช่น  ผู้ป่วยโรคมะเร็ง  ผู้ป่วยเบาหวาน  ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยแพ้ภูมิตนเอง หรือ  ผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันตก 

การรักษาโรคงูสวัด รักษาด้วยยาต้านไวรัส ซึ่งควรเริ่มยาภายใน 3 วันหลังจากเริ่มมีอาการ รวมกับการใช้ยาลดอาการปวด กรณีอาการรุนแรงในราย   ผู้ป่วยต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลเพื่อให้รับยาฉีดต้านไวรัส

การฉีดวัคซีน ฉีดวัคซีน 2 เข็ม ห่างกัน 2-6 เดือน สามารถฉีดได้ในคนที่เคยเป็นโรคงูสวัดมาก่อน เคยฉีดวัคซีนงูสวัดรุ่นเดิมหรือวัคซีนอีสุกอีใสมาก่อน โดยควรเว้นจากวัคซีนเดิมอย่างน้อย 2 เดือนขึ้นไป

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน ผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีนรุนแรง ตั้งครรภ์ หรือกำลังป่วยโรคงูสวัดอยู่

ให้ความรู้โดย : พญ.วาสนา จรัสวชิรกุล

บทความสุขภาพ