ความอ้วน(Obesity) ภัยเงียบที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในหลายด้านทั้งทางกายและจิตใจภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนนั้นจะดูที่ค่า ดัชนีมวลกาย(BMI)BMI คำนวณได้จาก น้ำหนักตัวที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงที่มีหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง
BMI มากกว่า 25 คือภาวะน้ำหนักเกิน
BMI มากกว่า 30 คือภาวะอ้วน
ภาวะน้ำหนักเกินและความอ้วนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมากในปัจจุบันซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคที่ไม่ถูกต้องทั้งชนิด ปริมาณ และช่วงเวลาในแต่ละวัน อีกทั้งสภาพความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้นทำให้คนเราขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมและพอเพียงเมื่อเทียบกับในอดีต มีการสำรวจทั่วโลกพบว่าภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กช่วงอายุ 5-19 ปี เพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่า ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
ภาวะน้ำหนักเกินและความอ้วนเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน
โรคแทรกซ้อนจากความอ้วน
โดยสรุปผลกระทบจากภาวะอ้วน
ทุกคนมีภาวะน้ำหนักเกินมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้อบพบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเมตาบอลิคซินโดรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จำนำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมายหลายชนิดตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยการตรวจร่างกายและตรวจเช็คเลือดเพื่อหาความผิดปกติ
ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลดน้ำหนักมีหลายอย่างเช่น กรรมพันธุ์ โรคประจำตัว วิถีการใช้ชีวิต กิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ดังนั้นผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีความจำเป็นที่ต้องให้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญให้คำแนะนำและติดตามการควบคุมน้ำหนักเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด
นพ. สมนึก กล่ำทวี (แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง)