โทรได้ 24 ชม. 02-185-1444

สัญญาณเตือนของโรคข้อเข่าเสื่อม

เมื่อร่างกายย่อมมีความเสื่อมโทรมและถดถอยลง รวมถึงการใช้งานมาอย่างยาวนาน และขาดการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งหนึ่งในอวัยวะที่เสื่อมโทรมและเกิดปัญหาสุขภาพที่พบได้บ่อยนั่นก็คือ “ข้อเข่า” 

ปัญหาข้อเข่าเสื่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยมักจะรู้สึกเจ็บปวดจากการเดิน หรือการนั่ง นอนก็ตาม  ในบางรายที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรงจะรู้สึกปวดเข่ามากๆ  และไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างสะดวก  เช่น การขึ้น – ลงบันได  การนั่งเพื่อขับถ่าย

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม Total knee arthroplasty เป็นทางเลือกเพื่อการรักษาข้อเข่าเสื่อม โดยก่อนเข้ารับการผ่าตัดนั้นผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกายร่วมกับการเอกซเรย์ข้อเข่า เพื่อประกอบการวินิจฉัยประเมินระดับความรุนแรงของการข้อเข่าเสื่อม แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ มักพบในกลุ่มผู้สูงอายุ โดยมีอายุมากกว่า 50 ปี และกลุ่มที่มีความเสื่อมตามธรรมชาติ เนื่องจากการใช้ข้อเข่ามาเป็นระยะเวลานาน
  2. ข้อเข่าเสื่อมชนิดทุติยภูมิ มักพบปัญหาข้อเข่าเสื่อมในช่วงอายุที่น้อยกว่า 50 ปี มีสาเหตุนำมาด้วยโรคประจำตัวและปัญหาสุขภาพ เช่น โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคเกาต์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เคยมีภาวะติดเชื้อในข้อเข่า ประวัติได้รับอุบัติเหตุหรือบาดเจ็บบริเวณเอ็นหัวเข่า โดยส่วนมากมักสัมพันธ์กับภาวะเอ็นไขว้หลังฉีกขาด และหมอนรองกระดูกฉีกขาด

อาการข้อเข่าเสื่อม

  1. มีอาการขัดบริเวณข้อ มีเสียงดังในข้อเข่าเมื่อเคลื่อนไหว
  2. มีอาการปวดเวลาลงน้ำหนัก เวลาเดินและทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน
  3. การใช้งานของข้อเข่าทำงานได้ลดลงจากภาวะปกติ เช่น การงอเหยียดเข่าไม่สามารถทำได้ ไม่สามารถนั่งพับเพียบได้
  4. เวลาก้าวเดินมีความรู้สึกไม่มั่นคง รู้สึกเข่าหลวม
  5. มีลักษณะขาโก่ง และขาแปร

การรักษาข้อเข่าเสื่อม ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

  • การทำกายภาพบำบัด
  • การทานยาลดอาการปวด ลดอาการอักเสบ
  • การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ชนิดข้อเข่าเทียมที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

  1. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดครึ่งข้อ  Unicompartmental Knee Arthroplasty (UKA)
  2. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดเต็มข้อ  Total Knee Arthroplasty  (TKA)

การเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด : ผู้เข้ารับการผ่าตัดอาจจำเป็นต้องงดยาบางชนิด เช่น ยาที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ยาแอสไพริน และยาแก้อักเสบบางตัว เป็นต้น ตรวจร่างกายทั่วไปอย่างละเอียด  ตรวจเลือด ปัสสาวะ และเอกซเรย์  รวมถึงการตรวจฟัน หากมีการติดเชื้อควรรักษาก่อนการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสี่ยงการติดเชื้อในกระแสเลือด  

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด : หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลโดยตรง ป้องการการติดเชื้อเข้าสู่แผลที่ผ่าตัด หากเกิดอาการแดงขึ้น ปวดขึ้น และรับประทานแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น คนไข้ควรรีบพบแพทย์  ข้อปฏิบัติที่ควรงดเว้น เช่น
1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลโดยตรง ป้องการการติดเชื้อเข้าสู่แผลที่ผ่าตัด หากเกิดอาการแดงขึ้น ปวดขึ้น และรับประทานแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น คนไข้ควรรีบพบแพทย์  ข้อปฏิบัติที่ควรงดเว้น เช่น
2. งดกิจกรรมที่ต้องออกแรงมาก หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวแรงๆ หรือการเล่นกีฬาหนักๆ คนไข้สามารถเดินออกกำลังกายเป็นระยะทางสั้นๆ ได้ทุกๆ 2 ชั่วโมง
3. หลีกเลี่ยงการเดินบนพื้นที่ไม่เรียบขรุขระ ส่วนการนั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิงและมีที่วางแขนเพื่อช่วยพยุง

การป้องกันอาการเข่าเสื่อม

  • การลดน้ำหนัก หากน้ำหนักเกินจากมาตรฐาน
  • ยกของหนัก เพราะจะมีแรงดัดต่อข้อเข่าเพิ่มขึ้น
  • ท่านั่งที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งยองๆ พับเพียบ คุกเข่า และการนั่งขัดสมาธิ
  • การบริหารข้อเข่า และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและช่วยพยุงกระดูกข้อเข่า  

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม วิธีการรักษาแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง โดยจะมีการซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดและวินิจฉัยอาการ ซึ่งสามารถบอกถึงความรุนแรงของโรค โดยแพทย์จะประเมินอาการ พร้อมวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

ให้ความรู้โดย : นายแพทย์วิโรจน์ ลาภไพบูลย์พงศ์  (แพทย์เฉพาะทางกระดูกและข้อ)

บทความสุขภาพ