โทรได้ 24 ชม. 02-185-1444

ผ่าตัดส่องกล้องกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดทุกชนิดในปัจจุบันมีวิวัฒนาการที่ดีขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันพัฒนาจนสามารถผลิต กล้องที่มีขนาดเล็กระดับมิลลิเมตร และมีความคมชัดมากขึ้นทำให้สามารถผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปได้อย่างปลอดภัย ทำได้สะดวก และลดระยะเวลาการพักฟื้นให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วมากยิ่งขึ้น 

การผ่าตัดผ่านกล้อง เอ็นโดสโคป ในกระดูกสันหลัง เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่สามารถทำการผ่าตัดได้อย่างสมบูรณ์ เกิดข้อผิดพลาดน้อย โดยมีบาดแผลขนาดเล็กกว่า 1 เซนติเมตร ต่อ 1 จุด โดยปกติแล้วใช้ระยะเวลาในการทำผ่าตัดแต่ละจุด ประมาณ 1 ชั่วโมง  

การผ่าตัดแบบนี้ ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเนื่องจาก มีการบาดเจ็บ ต่อกล้ามเนื้อและโครงสร้างของร่างกายเพียงเล็กน้อย ทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติหลังทำการผ่าตัด การผ่าตัดส่องกล้องในกระดูกสันหลังเหมาะสำหรับ 

  1. ภาวะหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท 
  2. ภาวะโพรงประสาทสันหลังตีบแคบ 
  3. ภาวะกระดูกสันหลังเคลื่อน 

ซึ่งจริงๆ แล้วในปัจจุบันการผ่าตัดส่องกล้อง สามารถทดแทนการผ่าตัดแบบเปิดได้มากกว่า ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยทั้งหมด ผู้ที่เหมาะกับการผ่าตัดส่องกล้องกระดูกสันหลัง 

  1. เหมาะสมกับทุกวัย 
  2. มีอาการของการกดทับของเส้นประสาทชัดเจน 
  3. ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงจากการผ่าตัดสูง เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน BMI>30  ผู้สูงอายุเกิน 70 ปีที่ ผู้ที่มีโรคประจำตัว 
  4. ผู้ที่มีอาการของเส้นประสาทเช่น อาการอ่อนแรง อาการชา อาการปวด  

ข้อดีของการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่องกล้องแบบแผลขนาดเล็ก 

  • แผลมีขนาดไม่เกิน 1 ซม. 
  • แผลหายง่ายและเร็ว 
  • ฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดทุกชนิด 
  • ลดการนอนติดเตียงของผู้สูงอายุ 

เนื่องจากอุปกรณ์มีขนาดเล็กมาก การทำผ่าตัด ต้องใช้ความชำนาญขั้นสูง เพื่อความปลอดภัยและผลการรักษา ที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางก่อนทำการรักษา  

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ที่ยังต้องปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง 

  • ไม่นั่งยอง นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ บนพื้น 
  • ไม่ยกของหนักเกิน 5-10 กิโลกรัม 
  • หลังผ่าตัด ควรนอนพักและงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงบริเวณหลังหรือคอ เพื่อไม่ให้เกิดแผลอักเสบ 
  • ใส่ซัพพอร์ตเป็นระยะเวลา 1 เดือนหลังผ่าตัด 
  • หลังจากผ่าตัดทันที สามารถลุกทำกิจวัตรประจำวันได้เช่น เข้าห้องน้ำ ทานข้าว ดูทีวี เป็นต้น  

ให้ความรู้โดย : นายแพทย์เมธี ภัคเวช  (แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง)

บทความสุขภาพ