โทรได้ 24 ชม. 02-185-1444

“ความอ้วน” ภัยเงียบนำพาปัญหาสุขภาพ

ความอ้วน(Obesity) ภัยเงียบที่จะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในหลายด้านทั้งทางกายและจิตใจภาวะน้ำหนักเกินหรือภาวะอ้วนนั้นจะดูที่ค่า ดัชนีมวลกาย(BMI)BMI คำนวณได้จาก น้ำหนักตัวที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงที่มีหน่วยเป็นเมตรยกกำลังสอง
BMI มากกว่า 25 คือภาวะน้ำหนักเกิน
BMI มากกว่า 30 คือภาวะอ้วน

Index mass body. Rating chart of body fat based on height and weight in kilograms. Vector flat style cartoon illustration isolated on white background

ภาวะน้ำหนักเกินและความอ้วนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างมากในปัจจุบันซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคที่ไม่ถูกต้องทั้งชนิด ปริมาณ และช่วงเวลาในแต่ละวัน อีกทั้งสภาพความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายมากขึ้นทำให้คนเราขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสมและพอเพียงเมื่อเทียบกับในอดีต มีการสำรวจทั่วโลกพบว่าภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในเด็กช่วงอายุ 5-19 ปี เพิ่มมากขึ้นถึง 4 เท่า ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา

ภาวะน้ำหนักเกินและความอ้วนเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน

  • กรรมพันธุ์และครอบครัว ยีนเป็นตัวควบคุมตั้งแต่การย่อยการดูดซึมอาหารที่รับประทานเข้าไป การเปลี่ยนอาหารที่รับประทานนั้นเป็นพลังงาน การนำพลังงานนั้นไปใช้ ท้ายสุดคือการกระจายตัวสะสมของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย นอกจากเรื่องยีนที่กำหนดแล้ว สมาชิกในครอบครัวก็มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคทั้งประเภทอาหารและปริมาณ ซึ่งมักจะทานในแบบที่คล้ายๆกันในแต่ละครอบครัว
  • การใช้ชีวิตการชอบบริโภคอาหารที่ไม่มีคุณคุณภาพ อาหารที่มีแคลลอรี่สูง เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ขาดการรับประทานผักและผลไม้
  • กิจกรรมประจำวันที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่ออกกำลังกาย
  • โรคประจำตัวเช่น เช่นโรคที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกายเช่น ไทรอยด์เป็นต้น
  • ยาบางชนิด เช่นยาสเตียรอยด์ ยาทางจิตเวช
  • อายุที่มากขึ้น การเผาผลาญลดลง
  • นอนหลับไม่เพียงพอ
  • ความเครียด

โรคแทรกซ้อนจากความอ้วน

  1. โรคหัวใจและอัมพาต
  2. เบาหวาน
  3. มะเร็ง
  4. โรคทางเดินอาหาร
  5. โรคไขมันเกาะตับ
  6. ข้อเสื่อม
  7. สี่ยงต่อโควิดรุนแรง

โดยสรุปผลกระทบจากภาวะอ้วน

  1. ด้านจิตใจ ( ความสวยงาม, แก่ก่อนวัย, ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคม, ภาวะซึมเศร้า)
  2. ด้านสุขภาพร่างกาย ( โรคหัวใจ,เบาหวาน,ความดันโลหิตสูง,อัมพาต,มะเร็ง,โรคตับและอื่นๆ)

ทุกคนมีภาวะน้ำหนักเกินมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้อบพบแพทย์เพื่อตรวจหาภาวะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเมตาบอลิคซินโดรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จำนำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมายหลายชนิดตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น โดยการตรวจร่างกายและตรวจเช็คเลือดเพื่อหาความผิดปกติ

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลดน้ำหนักมีหลายอย่างเช่น กรรมพันธุ์ โรคประจำตัว วิถีการใช้ชีวิต กิจกรรมในชีวิตประจำวัน รวมไปถึงการออกกำลังกายที่ถูกต้องเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ดังนั้นผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินมีความจำเป็นที่ต้องให้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญให้คำแนะนำและติดตามการควบคุมน้ำหนักเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและมีความปลอดภัยสูงสุด

นพ. สมนึก กล่ำทวี (แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง)

บทความสุขภาพ